ชื่อไทย : ประยงค์
ชื่อท้องถิ่น : ขะยง(เหนือ)/ ขะยม(เหนือ)/ประยงค์ใบใหญ่(กลาง,ใต้)/พะยงค์(เหนือ)/ยม(ชุมพร,เหนือ)/หอมไกล(ใต้) 
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aglaia odorata Lour.
ชื่อวงศ์ : MELIACEAE
ลักษณะวิสัย : ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ลำต้น :
เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก แตกกิ่งง่าย สูง 2-3 ม. แตกกิ่งก้าน ตั้งแต่โคนต้นเปลือกต้นเรียบ สีเทา
ใบ :
เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ รูปรี ปลายใบมน โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียวเป็นมัน ก้านใบแผ่ออกเป็นปึก  
ดอก :
ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยขนาดเล็กมาก สีเหลือง กลีบดอกมี 6 กลีบ ซ้อนกันเป็นรูปทรงกลมไม่บาน เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.2 – 0.3 ซม. แต่กลิ่นหอมแรง
ผล :
รูปทรงกลมรี ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเหลืองอ่อน ผลสุกสีแดง  เมล็ด 1 เมล็ด สีน้ำตาล
ระยะติดดอก - ผล :
เริ่มติดดอก : สิงหาคม สิ้นสุดระยะติดดอก : ธันวาคม
เริ่มติดผล : สิ้นสุดระยะติดผล :

สภาพทางนิเวศวิทยา : นิเวศวิทยา
ถิ่นกำเนิด
การกระจายพันธุ์
การใช้งานด้านภูมิทัศน์ ตัดแต่งทรงพุ่มได้หลากหลาย ปลูกได้ทั้งในกระถางหรือปลูกลงแปลง
การปลูกและการขยายพันธุ์ : ปลูกในดินร่วน ระบายน้ำดี สภาพแดดจัด
ตอนกิ่ง หรือเพาะเมล็ด การเพาะเมล็ดออกรากง่ายแต่โตช้า
รายละเอียดการใช้ประโยชน์ : - ใบ, ก้าน มีรสเฝื่อน พอกแก้ฟกช้ำ แผลฝีหนอง
- ดอก มีรสเฝื่อนขมเล็กน้อย แก้ไอ วิงเวียนศีรษะ ทำให้หูตาสว่าง ลดการอึดอัดแน่นหน้าอก แก้เมาค้าง ดับร้อน แก้กระหายน้ำ
- ราก มีรสเย็นเฝื่อน ทำให้อาเจียน ถอนพิษยาเบื่อ ยาเมา...[1]
- ดอกตากแห้ง ผสมใบชาชงดื่ม นอกจากจะทำให้ชากลิ่นหอมขึ้นแล้ว ยังมีสรรพคุณแก้ร้อนดับกระหาย แก้อึดอัดแน่นหน้าอก แก้เวียนศีรษะ แก้อาการเมาค้าง ทำให้หูตาสว่าง จิตใจปลอดโปร่ง...[2]
แหล่งอ้างอิง : [1] คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. Herbal Garden in Royal Flora Expo 2006. บริษัท สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร. [2] พัฒน์ พิชาน. 2550. สุดยอดไม้ประดับ-ไม้ดอกหอม. ไทยควอลิตี้บุ๊คส์. กรุงเทพมหานคร.
ประเภทของการใช้ประโยชน์ :
พืชสมุนไพร
ที่อยู่ :
หมายเหตุ :
รูปพรรณไม้ :
   
Copyright © 2011 Royalpark Rajapruek All rights reserved.
ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100
โทร 053-114110-5 แฟกซ์ 053-114196 E-Mail : [email protected]
เริ่มใช้งานระบบเมื่อ 1 มิถุนายน 2554